Thursday, 25 Apr 2024

บำบัดเกาท์ ลดยูริค UMI & GRN

 “เก๊าท์”
คืออะไร? 
เกิดจากอะไร บทความนี้มีคำตอบ

“เก๊าท์” เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยในผู้ชาย ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการปวดที่ข้ออย่างเฉียบพลัน รวมถึงมีอาการบวมและข้อแข็ง โดยมากจะเป็นที่นิ้วหัวแม่เท้า ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้อาการของโรคเก๊าท์ นั้นเป็นอันตรายต่อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และเนื้อเยื่ออื่น ๆ และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

โรคเก๊าท์ เกิดจากการที่ร่างกายมีการสะสมกรดยูริกเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี และค่ายูริคสูงกว่าปกติ  จึงทำให้กรดยูริกนั้้นตกตะกอน และสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมมากที่ข้อต่อก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ และมีอาการปวด แดง ร้อนบริเวณข้อต่อ และยังส่งผลให้เกิดปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนัง ถ้ามีกรดยูริกสะสมอยู่ตามผิวหนังมาก และ จะเกิดเป็นโรคนิ่วในใต ถ้ามีกรดยูริกสะสมที่ไตมาก และจะเกิดอาการไตเสื่อม ได้ในที่สุด

 

อาการของโรคเก๊าท์
โดยส่วนมากอาการที่พบได้บ่อยที่สุด คือ มีอาการปวดอย่างรุนแรงตามข้อต่อ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้า และก็สามารถเกิดกับข้อต่อส่วนอื่นๆตามร่างกายได้อีก เช่น ข้อต่อกระดูกมือ ข้อเท้า หัวเข่า ข้อศอก   ข้อมือ อาการปวดจะทวีความรุนแรงมากในช่วง 4-12 ชั่วโมงแรก และจะค่อยๆปวดน้อยลงและอาการดีขึ้นภายใน 7-10 วัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดได้นานหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์กันเลย นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น

เกิดการอักเสบและติดเชื้อตามข้อต่อ ซึ่งจะเกิดกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อต่อ จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้น มีอาการบวมแดง สีแดง และแสบร้อน ได้

สัญญาณบ่งบอกความรุนแรงของโรคเก๊าท์ที่เพิ่มมากขึ้นผู้ป่วยอาจจะเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกเนื่องจากเกิดภาวะข้อติด เมื่ออาการดีขึ้นก็จะมีอาการคันและ
ผิวหนังบริเวณข้อต่อเกิดการลอกได้

อาการของโรคเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มักเป็น ๆ หาย ๆ จนกว่าจะได้รับการดูแลรักษา ส่วนมากจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืนได้บ่อยกว่าช่วงเวลาอื่น ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง จนทำให้ผิวหนังบวมแดง แสบร้อน และมีไข้ขึ้น เพราะอาการปวดข้ออาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดได้ว่าเป็นสัญญาณของโรคข้ออื่น ๆ หากปล่อยไว้นานโรคอาจพัฒนารุนแรงขึ้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่อาการปวดอย่างเรื้อรังและสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้

 

สาเหตุของเกาท์ และการดูแลบำบัด

โรคปวดตามข้อชื่อดังอันดับ 1 นั่นก็คือ “โรคเก๊าท์”
เกิดจากการที่มีกรดยูริคสูงสะสมอยู่ในเลือด โดยกรดยูริกจะเกาะกันเป็นผลึกคล้ายแก้วตามจุดข้อต่างๆ ในร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนมีการทิ่มตำเนื้อเยื่อ และเส้นประสาทข้อต่อ ทำให้อักเสปเจ็บปวดเหมือนถูกเข็มแทง 

การเกิดผลึกยูริค ปัญหายังเกิดในไต รวมทั้งอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย

โรคเกาท์ จะแสดงอาการ ดังนี้
1. อาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
2. โรคข้ออักเสบผิดรูป
3. ไตทำงานบกพร่อง
4. นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ (uric acid stone)
5. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด

 

โดยปกติ..โรคเกาท์
กลไกในร่างกายคนจะเปลี่ยน “กรดยูริก” ให้เป็น “ยูเรีย” แล้วขับออกทางปัสสาวะ

แต่สำหรับคนที่เป็น “โรคเก๊าท์” ระบบร่างกายส่วนนี้จะบกพร่อง ทำให้มีกรดยูริกสะสมอยู่ในร่างกาย

การดูแลโรคเก๊าท์
คือต้องดูแลตัวเองเพื่อลดค่ากรดยูริคในเลือดให้อยู่ระดับปกติ
เช่น การลดอาหารเนื้อสัตว์ ลดสุรา ลดการทานยอดผัก และใช้ยา หรืออาหารเสริมลดกรดยูริก

– ในเพศชาย ค่ากรดยูริคในเลือดไม่เกิน 7.0 มก./ดล.
– ในเพศหญิง ค่ากรดยูริคในเลือดไม่เกิน 6.0 มก./ดล.

==============================================

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์

1. เป็นกรรมพันธุ์ ผู้หญิงจะเริ่มเมื่ออายุ 45 ปีไปแล้ว ส่วนผู้ชายจะเริ่มเมื่อ อายุ 35-40 ปี
2. อ้วน เพราะถ้าน้ำหนักเกิน จะส่งผลให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นด้วย
3. กินอาหารที่มีพิวรีน (purine) สูง สารตั้งต้นของการเกิดกรดยูริค
4. กินอาหารที่มีไขมันสูง
5. เป็นโรคความดันโลหิตสูง
6. ใช้ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งจะลดการขับกรดยูริค, ใช้ยา aspirin ยารักษาวัณโรค เช่น pyrazinamide and ethambutol
7. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะกระตุ้นให้มีการสร้างกรดยูริคเพิ่ม
8. ไตเสื่อม ทำให้ขับกรดยูริคได้น้อยลง
9. โรคที่ทำให้กรดยูริกสูง เช่น โรคเม็ดเลือดแดงแตก โรคมะเร็ง 
10. มีภาวะขาดน้ำ
11. การได้รับอุบัติเหตุที่ข้อ
12. ได้ยาลดกรดยูริก

กรดยูริคคืออะไร?
กรดยูริค เกิดจากสารพิวรีน ที่มีอยู่ในอาหารหลายชนิด
กรดยูริกในร่างกายได้รับจาก 2 ทางคือ

1. จากอาหารที่รับประทาน ประมาณร้อยละ 20 ได้จากอาหารที่รับประทาน
ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ ซึ่งจะถูกย่อยสลายจนเกิดเป็นยูริค
2. จากร่างกายสร้างขึ้นเอง ประมาณร้อยละ 80 ได้ จากการสลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายแล้วถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดยูริค เช่น กล้ามเนื้อทำงานมากขึ้นหรือมีภาวะอดอาหาร

โดยปกติกรดยูริคจะถูกขับออกทางไต 2 ใน 3 ของที่ร่างกายสร้างขึ้น
อีกส่วนหนึ่งจะขับออกทางน้ำลาย น้ำย่อย น้ำดี และทางลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะถูกทำลายโดยแบคทีเรียในลำไส้

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเกิดขึ้นได้อย่างไร?
สาเหตุของภาวะกรดยูริคในเลือดสูง นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด โดยทั่วไปมีปัจจัยมาจาก
1. ร่างกายสร้างกรดยูริกมากเกินไป เนื่องจากร่างกายไม่สามารถควบคุมการสร้างกรดยูริกให้อยู่ในระดับปกติได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์หรือบริโภคอาหารประเภทโปรตีนอาหารมากเกินไป
2. ร่างกายขับกรดยูริคออกได้ไม่ดีหรือน้อยลง จากโรคไตพิการ การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาวัณโรคบางชนิด เป็นต้น

สารพิวรีน นั้นมีอยู่ในอาหารประเภทไหนบ้าง

อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด

อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม

อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด

ใส่ใจ สรรหา สารอาหารดีๆ เพื่อต่อสู้โรคเกาต์ เพื่อชีวิตที่สุขสบายกว่านะคะ

#UMI #ปรับสมดุล #ลดกรดยูริค

 

 6,501 total views,  2 views today

Open