Wednesday, 11 Sep 2024

ไตเสื่อม ไตวาย รู้ทัน ชะลอได้

กินอยู่อย่างไร เมื่อเป็น โรคไต

โรคไต ภัยเงียบใกล้ตัว!!
พึงระวัง สงสัย รีบตรวจก่อนจะสาย

เมื่อพูดถึง ไตเสื่อม นอกจากโรคยอดฮิต
เบาหวาน ความดัน 
ที่ส่งผลให้ไตทำงานหนัก
จนไตค่อยๆเสื่อมลงในที่สุด
อีกอย่างก็คือ อาหาร กับ ประโยคยอดฮิตที่ว่า 

“อย่ากินเค็มมาก เดี๋ยวเป็นโรคไต”

เป็นประโยคที่เราอาจได้ยินกันมานาน
และได้ยินบ่อยๆ เมื่อเรานั่งทาน
อาหารโต๊ะเดียวกัน แน่นอน
ว่าการทานรสเค็มมากๆ
เป็นสาเหตุสำคัญของโรคไต
อย่างที่ทุกคนเข้าใจกันนั่นแหละ
หลายคนสาดน้ำปลาไม่ยั้ง
ส้มตำลาบน้ำตก ยำรสจัดๆ
ของชอบสุดๆ ไปๆ มาๆ
ตรวจสุขภาพประจำปี
รู้ตัวอีกทีก็เป็นโรคไต
หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเสียแล้ว

แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่า ไตเริ่มเสื่อมแล้ว คลิปนี้มี คำตอบค่ะ

และเมื่อไตเสื่อมแล้ว
นอกจาก ลดเค็มแล้ว
ยังต้องควบคุมอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง
ฟอสฟอรัสสูงโซเดียมสูง
และ เลือกทานผัก ผลไม้อีกด้วย
เพื่อไม่ให้อาการของโรคไต กำเริบ
มากยิ่งขึ้นด้วย เพราะอะไร
และอาหารอะไรบ้างที่มี
โพแทสเซียมสูงที่คุณควรเลี่ยง มาดูกัน

ผัก ผลไม้ ที่ผู้ป่วยไตเสื่อม กินได้ ปลอดภัย ชลอไตเสื่อม

กลุ่มอาหารที่มี โพแทสเซียมสูง
เมื่อเป็นโรคไตเสื่อม
แล้วทำไมต้องเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียม?
โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง
ที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท
และกล้ามเนื้อในร่างกาย
โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
ส่วนไตมีหน้าที่กรองเอาสารอาหาร
ที่ประโยชน์กลับขึ้นไป ดูแลร่างกาย
ผ่านกระแสเลือด และแยกเอาสารอาหาร
ที่เกินความจำเป็นออกไป

หากไตเสื่อม ไตก็จะกรองเอาโพแทสเซียม
ออกจากร่างกายได้น้อยลง
ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงควรจำกัดการทาน
อาหารที่มีโพแทสเซียมไม่ให้สูงเกินไปนั่นเอง

เมื่อมีโพแทสเซียมสูง จะส่งผลต่อร่างกาย
ผู้ป่วยไตเสื่อมอย่างไรบ้าง?

เมื่อร่างกายมีปริมาณโพแทสเซียมสูงเกินไป
อาจมีอาการเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย ใจสั่น
คลื่นไส้ เป็นตะคริว ชีพจรเต้นช้าลง
ไปจนถึงหัวใจหยุดเต้นได้เลยทีเดียว

ผู้ป่วยโรคไต ห้ามทานอาหารที่มีโพแทสเซียม?

จะห้ามให้ไม่ทานเลยก็ไม่ได้

เพราะอย่างไรก็ตามโพแทสเซียม

ยังพอมีประโยชน์กับผู้ป่วยโรคไตอยู่บ้าง

เพราะโพแทสเซียมช่วยลดอาการบวมน้ำ

ในร่างกายของผู้ป่วย

ช่วยปรับสมดุลของน้ำในร่างกายให้เป็นปกติ

และป้องกันไม่ให้ร่างกาย
เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย

มาดูกันค่ะ…ว่า อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง
ที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง
อาทิ
ผักสด โดยเฉพาะผักสีเข้มๆ

เพราะฉะนั้นอาหารที่ผู้ป่วยโรคไต
สามารถทานได้ คืออาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ
คือผักผลไม้ที่มีสีซีดๆ เช่น ชมพู่ องุ่นเขียว
แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนูขาว
ฟักเขียว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา

แต่ก็สามารถทานสลับระหว่าง
อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง-ต่ำ
เพื่อรักษาสมดุลของโพแทสเซียม
ในร่างกายได้เช่นเดียวกัน

***เคล็ดลับง่ายๆ เพื่อลดปริมาณโพแทสเซียมในผัก คือ การลวกในน้ำร้อนก่อนทาน จะช่วยลดปริมาณโพแทสเซียมได้ถึง 30-40% ค่ะ

แต่หากพบปริมาณโพแทสเซียม
ในเลือดสูงผิดปกติ
ควรงดผลไม้ทุกชนิด
แล้วทานแต่ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลเลือดของแต่ละคน

10 อาหาร ที่ ผู้ป่วย โรคไต
ควรเลี่ยง นั่นคืออาหารที่มี
ฟอสฟอรัสสูง

หน้าที่ของ ฟอสฟอรัส
✅กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท
✅กระตุ้นการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ

หลังจากร่างกายดูดซึมไปแล้ว
จะมีอีก 30 เปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัส
ในอาหารที่ไม่ถูกดูดซึม
ส่วนการควบคุมระดับของฟอสฟอรัสนั้น
จะทำโดยการขับออกทาง “ไต”
มากกว่าในรูปแบบของการดูดซึม    

อาการ เมื่อขาดฟอสฟอรัส
และถ้ามากเกินไป จะมี อาการ เหล่านี้

❌ อาการคันตามผิวหนัง
❌ หลอดเลือดแดงแข็ง
❌ ภาวะต่อมพาราไทรอยด์โต
❌ กระดูกบางและเปราะ  

เรามาดูกันคะ ว่าอาหารกลุ่มไหนบ้าง
ที่มีฟอสฟอรัสสูง

10 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

1.เครื่องดื่มชา กาแฟ โกโก้
เครื่องดื่มจำพวก ชานมเย็น โกโก้ กาแฟเย็น

ที่เป็นเครื่องดื่มใส่นมทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นเครื่องดื่ม
ที่ให้ฟอสฟอรัสสูง ถึง 1,500 มิลลิกรัม ต่อ 100กรัม 


2.สาหร่ายทะเลแห้ง
ในสาหร่ายทะเลแห้ง
มีฟอสฟอรัสถึง 1,000 มิลลิกรัม ต่อ สาหร่าย 100 กรัม

3.เมล็ดถั่วเหลืองแห้ง
ในส่วนของฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในเมล็ดถั่วเหลืองแห้ง
ซึ่งมีอยู่ถึง 583 มิลลิกรัม ต่อถั่วเหลือง 100 กรัม


4.ไข่แดง

ในไข่แดงจัดว่าเป็นอาหารชนิดที่มีฟอสฟอรัส
อยู่สูงถึง 580 มิลลิกรัม ต่อไข่ 100 กรัม
 

5.พริกแดง
พริกเม็ดสีแดงๆ เป็นเครื่องปรุงรสชั้นเลิศของสาวๆเมืองไทยนี้
มีฟอสฟอรัสแฝงอยู่ถึง 380 มิลลิกรัม ต่อพริกแดง 100 กรัม 

6.ช็อคโกแลต

มี ฟอสฟอรัสที่สูงถึง 287 มิลลิกรัม ต่อช็อคโกแลต 100 กรัม เลย


7.เครื่องในสัตว์ ตับไก่

เครื่องในสัตว์จำพวก ตับ มีฟอสฟอรัส
สูงถึง 240 มิลลิกรัม ต่อ ตับ 100 กรัม
 

8.นม
นมจืด นมหวาน นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย
นมข้น นมผง นมปรุงแต่งกลิ่นรสต่างๆ
มีฟอสฟอรัสสูงถึง 230 มิลลิกรัมต่อนม 100 กรัม


9.ผลิตภัณฑ์จากนม

ในโยเกิร์ต ไอศกรีม คัสตาร์ดครีม ชีส
ช็อกโกแลตและเนยแข็งทุกชนิด
มีฟอสฟอรัสถึง 135มิลลิกรัม ต่อ 100กรัม
 


10.เบเกอรี่

ขนมปัง เค้ก ขนมอบ โดนัท ซาลาเปา
หรือขนมที่มีส่วนผสมของยีสต์
มีฟอสฟอรัสสูงถึง 110 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมค่ะ


10 อาหาร โซเดียมสูง
อันตรายของผู้ป่วยไต

หลายๆคน บอกว่า เป็นโรคไต แล้ว ห้ามกินเค็ม !
จริงๆแล้ว กินเค็ม ไม่ใช่ แค่น้ำปลา
หรือ เกลือ เท่านั้น
เพราะจริง ๆ ยังมีอีกตัวที่ให้ความเค็ม
และต้องระวัง เป็นอย่างยิ่ง นั่น คือ “โซเดียม
ซึ่งมีอาหารอีกหลายชนิดมากที่มีโซเดียมสูง
แต่ไม่ได้มีรสเค็มเลยค่ะ

“โซเดียม” เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง
ที่ทำหน้าที่ ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ
และช่วยปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย 
และยังป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
ซึ่ง โซเดียม จะมาจากการที่เราทานอาหาร
เข้าไปเท่านั้น
เพราะร่างกายของเราไม่สามารถ
สร้างโซเดียมขึ้นมาได้ 

เมื่อนำโซเดียมเข้าร่างกายแล้ว
ก็ต้องมีการนำส่วนเกินออก
ซึ่งโดยปกติร่างกายเรา
จะขับโซเดียมออกได้ 3 ทาง
ได้แก่ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ

แต่เมื่อไตเราเสื่อม ร่างกายของเรา
จึงกำจัดโซเดียมออกได้น้อย
หรือ ไม่สามารถกำจัดโซเดียมที่เกินออกไปได้เลย

ค่าระดับโซเดียมในเลือด
โซเดียมปกติ
คือ มีค่าอยู่ระหว่าง 135-145 mEq/L

โซเดียมต่ำ :
คือ มีค่า น้อยกว่า 135 mEq/L 
(จะทำให้ รู้สึกเพลีย ไม่มีแรง)

โซเดียมสูง : คือ มีค่า มากกว่า 145 mEq/L

 **ปริมาณที่ควรได้รับ
คือ ไม่เกิน 2,000 mg. ต่อวัน

โซเดียม จากเครื่องปรุง 1500mg.
และ โซเดียม จากอาหารธรรมชาติ 500mg.

Sodium ธรรมชาติ คือ ไข่ขาว ปลา
เนื้อไก่ ข้าวแป้ง และ ผัก ผลไม้

และเมื่อเราได้รับโซเดียมมากเกินไป
จะเป็นอย่างไร? 
ผู้ป่วยไตเสื่อมจะมีอาการ ดังนี้

1. ตัวบวม
2. ความดันจะสูง
3. ร้ายแรงที่สุด คือน้ำท่วมปอด
จะทำให้มีอาการแน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ 

แต่โซเดียม ก็ยังมีประโยชน์
เพราะถ้ามีน้อยเกินไปจะทำให้ รู้สึกเวียนหัว
เวลายืนจะเป็นลม มือเท้าเย็น อ่อนเพลีย
ชีพจรเต้นเร็ว เพราะฉนั้นแล้ว
เราควรเลือกทาน และคุมปริมาณโซเดียม
ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะดีกว่า

มาดูกันค่ะ ว่าโซเดียมมีอยู่ในไหนบ้าง ?

1.วัตถุดิบตามธรรมชาติ
อาทิ เนื้อหมู ปลา ไก่ ผักต่าง ๆ และผลไม้

2.เครื่องปรุงรสต่างๆ อาทิ กะปิ
เกลือ น้ำปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊วขาว  ซุปก้อน 
(*ควรหลีกเลี่ยงค่ะ)

3.สารปรุงแต่ง
อาทิ ผงชูรส ผงฟู 
(*ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง)

4.กลุ่มอาหารแปรรูป ไส้กรอก
แฮม กุนเชียง อาหารกระป๋อง
อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

“นม” อีกหนึ่งเครื่องดื่ม ที่มี ฟอสฟอรัสสูง ผู้ป่วยไตควรเลี่ยง

กับคำถาม ที่ผู้ป่วยไตเสื่อม
หลายคนสงสัยว่า ไตเสื่อม แล้ว ดื่มนม ได้ไหม?

โดยปกติแล้ว ใน นม ทุกประเภท
จะมีฟอสฟอรัส อยู่ในปริมาณที่เยอะ

นอกจากนมแล้ว ยังมีอาหาร
ประเภทนมและผลิตภัณฑ์จากนม

เช่น เนย โยเกิร์ต ไอศครีม ขนมเบเกอรี่
เค้ก พาย ช๊อคโกแลต ไข่แดง

และรวมถึงเมล็ดพืชต่างๆ ถั่ว และ
ผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้
น้ำอัดลมสีเข้ม กาแฟ ชา เบียร์ เป็นต้น

ในน้ำนม 1 กล่อง (240 มิลลิลิตร)
มีโปรตีนคุณภาพดีประมาณ 8 กรัม
เท่ากับเนื้อหมู หรือเนื้อไก่หั่น 2 ช้อนกินข้าว

ผู้ป่วยไตส่วนมากจำเป็น
ต้องจำกัดโปรตีน
ลดปริมาณเนื้อสัตว์
ที่ได้รับในวันนั้นลงด้วย
ผู้ป่วยไตเรื้อรัง บางราย

การดื่มนมอาจจะไม่เหมาะ
เพราะในน้ำนมมีฟอสฟอรัสสูง
แนะนำให้ทานโปรตีนไข่ขาวชงแทนดีกว่าค่ะ

สำหรับผู้ป่วย โรคไต
อาหาร คือสิ่งสำคัญมาก

หลายท่าน ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ
นักโภชนการอาหาร เป็นที่เรียบร้อย

ทำให้การคุมอาหารเป็นได้ได้อย่างดี 

แต่ก็ยังมี ผู้ป่วยไตเสื่อม หลายท่านที่ไม่ทราบ

ว่าต้องคุมอาหาร เลือกทานอาหารอย่างไรดี
อ้อม ได้รวบรวม ความรู้ในการคุมอาหาร 
อาทิ ผัก ผลไม้ ที่ทานได้ และ ทานไม่ได้

และ อ้อม ได้ตอบคำถาม สำหรับผู้ป่วย โรคไต
หลายๆท่าน ที่สอบถามเข้ามาค่ะ

หากท่านใดสนใจ สามารถ คลิ๊กที่ วีดีโอ ด้านล่าง
เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม ได้เลยค่ะ

======================

“เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากตัวคุณก่อน”

กดเพิ่มเพื่อน เพื่อปรึกษา และรับข้อมูลสุขภาพฟรี
ได้อัตโนมัติ ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ

Line ID : @aomsarinee (มี @ ด้วยนะคะ)

Open