บทความสุขภาพ
ไตเสื่อม จุดเริ่มคุณภาพชีวิตที่ถดถอย
“เมื่อป่วย คนทั่วไปชอบกินยา….คนฉลาดกว่าชอบกินอาหารดีๆ”
ลองนึกถึงตอนเช้าๆ ตอนตื่น บางวันก็สดชื่นบ้าง ไม่สดชื่นบ้าง
แต่กิจกรรมแรกที่ทุกคนมักจะทำอย่างอัตโนมัติก่อนคืออะไรค่ะ?
แน่นอนคนส่วนใหญ่ต้องตอบว่า เดินไป “ฉี่” หรือพูดให้สุภาพๆ ว่าไป “ปัสสาวะ” นะสิถามได้
แถมบางคนนอนๆ อยู่ยังต้องตื่นมา “ปัสสาวะ” กลางดึก ทั้งๆ ที่ไม่อยากตื่นก็มีเยอะ
พอจะกลับไปนอนก็นอนหลับยากซะอีก อุต๊ะ!
แล้วทำไมร่างกายต้องบังคับให้คนเราตื่นมา “ปัสสาวะ” กลางดึกละเนี้ย? สงสัยกันไหมคะ
คำตอบก็คือ ร่างกายของสิ่งมีชีวิต มีระบบขับของเสียต่างๆ ในเลือด ผ่านปัสสาวะออกมาไงค่ะ
ซึ่งในหนึ่งวันของคนเรา ก็ต้องเข้าปัสสาวะครั้งละ 150-300 ซีซี
จำนวนครั้งประมาณ 5-8 ครั้งต่อวัน และกลางคืนไม่เกิน 1-2 ครั้ง
**จากการดื่มน้ำปริมาณที่แนะนำ 2 ลิตร หรือ 2000 ซีซีต่อวัน
**ปริมาณของปัสสาวะอาจจะลดลงได้ ถ้ามีการเสียน้ำไปทางเหงื่อและทางอุจจาระ
ดังนั้น ถ้าคนเรามีอายุยืน 80 ปี คนเราจะปัสสวะทั้งชีวิต เฉลี่ยถึง 175,200 ครั้งเลยทีเดียว!
งั้นจะดีไหม ถ้าคนเราไม่ต้อง “ปัสสาวะ” ??
ดูประหยัดเวลาดี ไม่เสียเวลาวิ่งหาห้องน้ำเลยค่ะ
ถ้าต่อไปจากนี้ทุกคนตื่นมา ไม่ต้อง “ฉี่” เลย จะเกิดอะไรขึ้น?
เสียชีวิตค่ะ เสียชีวิต…
ในความเป็นจริงที่น่าตกใจ ทราบไหมว่ามีคนแบบนี้จริงๆ คือ ผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรังระยะสุดท้าย
กลุ่มคนเหล่านี้จะ “ปัสสาวะ” ไม่ได้จนของเสียในเลือดมีระดับที่เกินความปลอดภัย
เกลือแร่ในร่างกายบางตัวเกิน จนเป็นอันตรายถึงชีวิต
เฉพาะในประเทศไทย มีผู้ป่วยไตระยะสุดท้ายถึง 2 แสนคน!
เป็นสาเหตุให้เกิดสถิติที่น่าตกใจคือ คนไทยเป็นไตเสื่อมเรื้อรัง ถึงขั้นเสียชีวิต 108 คนต่อวัน!
“ข้อมูลจาก สสส. พบว่าคนไทยป่วยเป็นไตเสื่อมเรื้อรังรวมทุกระยะ ประมาณ 8 ล้านคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย ค่าใช้จ่ายการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนไตทำได้เพียงปีละ 500 ราย!“
เมื่อ “ไตเสื่อม” จึงเป็นภาวะที่ทำให้สุขภาพผู้ป่วยบอบบาง..คุณภาพชีวิตถดถอย
ผู้ป่วยไตเสื่อม จะมีดังนี้ค่ะ ลองสังเกต ตัวเองกันดูนะคะ
1. อ่อนเพลียบ่อย ขาดความกระตือรือร้น
2. นอนไม่ค่อยหลับ หรือ หลับไม่สนิท
3. ปัสสาวะบ่อย หรือ กะปริดกะปรอย
4. ปวดตามตัว เป็นตะคริวบ่อย
5. จาม คัดจมูก เป็นหวัดง่าย
6. ซึมเศร้า ปวดหัวง่าย ขี้ลืม ขี้วิตกกังวล
7. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว ประจำเดือนไม่ปกติ
8. ขอบตาดำคล้ำ ผมหงอก ผมร่วงก่อนวัย
และเมื่อ ไตเสื่อม ต้องจำกัดการกินอาหารแบบสุดๆ มีของที่กินได้น้อยกว่าที่กินไม่ได้ ถ้าฝืนกินก็จะป่วยหนัก และต้องจำกัดการดื่มน้ำไม่ขาดไม่เกิน 800 – 1400 ซีซี ขึ้นกับระยะ หรือตามสูตร
ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
ถ้าไม่คุมการดื่มน้ำ ก็จะเกิดภาวะ น้ำท่วมปอด หรือเกิดภาวะตัวบวมและเท้าบวมน้ำค่ะ
กรณีไตเสื่อมระยะสุดท้าย ก็ต้องไป รพ. ไปฟอกไต 2-3 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในอัตราสูง ถ้าไม่ดูแลในเรื่องการทานอาหาร
การดื่มน้ำให้เหมาะสม จนเกิดปัญหาต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย
อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยไตเสื่อมระยะสุดท้าย ก็ไม่แพ้ โรคร้ายเลยนะค่ะ
ทางป้องกันที่ดีที่สุดของผู้ที่รู้ตัวว่าเริ่ม ไตเสื่อมระยะแรกๆ คือ
ชะลอความเสื่อมของไตเพื่อให้เข้าสู่ระยะสุดท้ายที่ต้องล้างไตให้ช้าลง
อะไรบ้างที่ทำให้ “ไตเสื่อม”
1.ใช้ชีวิตขาดสมดุล : น้อยไปไม่พอ ทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ เที่ยวกลางคืนหนัก หมกมุ่นความบันเทิง เป็นต้น
2.เพศสัมพันธ์ : มีเพศสัมพันธ์มากเกินควร และหลั่งอสุจิมากเกินควร ทำให้ร่างกายเสียพลังโดยเปล่าประโยชน์ และไตจะอ่อนแอลง
3. การทานยาต่อเนื่องนานๆ หรือปริมาณที่มากเกินไป : ทั้งยาแก้ปวด ยาคุมฯ ยาแก้หวัด แก้ไอ แก้เครียด ซึ่งแม้กินยาแล้วอาการเหล่านั้นจะหาย แต่ไตจะมีเคมีของยาตกค้างอยู่ นั่นเอง
การดูแล
ง่ายสุด คือ ปรับพฤติกรรมตัวเอง ทั้ง การนอน การกิน การอยู่ หนึ่งวันมี 24 ชม.
ให้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนละ 8 ชั่วโมง
– ทำงาน 8 ชั่วโมง
– ส่วนตัว 8 ชั่วโมง (เที่ยว พักผ่อน ดูทีวี สรรทนาการ ออกกำลังกาย)
– นอน 8 ชั่วโมง
เมื่อไรที่กินยาเยอะ ไตคนป่วยก็จะไตพัง กันมากขึ้น จากการกินยา แล้ววนมาหาหมอไตอีก ดังนั้น ต้องตัดสินใจเองว่าจะจัดการชีวิตตนเองอย่างไร ที่ไม่เสียงาน ไม่เสียสุขภาพ ค่ะ