Thursday, 25 Apr 2024

กินอยู่ อย่างไร เมื่อ โรคไต

กินอยู่ อย่างไร 

เมื่อ โรคไต

ความสำคัญของอาหาร สำคัญมาก
มีผลต่อผู้ป่วย โรคไต เรื้อรัง


การควบคุมอาหารอย่าง
ถูกต้องตั้งแต่ระยะ 1-2
จะช่วยชะลอความเสื่อมของ ไต
อย่างได้ผล ดียิ่งกว่า
ใน โรคไต ระยะ 3-5 ที่โรครุนแรง

โดย ผู้ป่วย โรคไต
ควรรับประทานอาหารที่มี โปรตีน ต่ำ
ก็จะมีผล ให้ของเสีย (เช่น ยูเรีย)
มีปริมาณน้อยลง
ไต ส่วนที่เหลือก็จะได้ทำงานเบาลง

และควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร

6 หมวดอาหารสำคัญที่
ผู้ป่วย โรคไต ควรทราบ
เพื่อช่วยชะลอ ไต เสื่อม

มีอะไรบ้าง อ้อมแบ่งไว้ดังนี้ค่ะ

หมวด 1
พลังงาน Energy

ความเพียงพอในด้านพลังงาน
นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
อาหาร ที่ให้พลังงาน
พอเพียง จะช่วยป้องกัน
ภาวะทุพโภชนาการ
และ ช่วยให้ร่างกาย
ใช้โปรตีนที่ถูกจำกัด จาก อาหาร
ที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในคนที่อายุต่ำกว่า 60 ปี
ควรได้รับพลังงาน
35 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน


ส่วนผู้ป่วยที่ อายุสูงกว่า 60 ปี
ควรได้รับพลังงาน
30 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน

เมื่อผู้ป่วย โรคไต ได้รับพลังงานน้อย
ส่งผลทำให้ ผู้ป่วย มีอาการอ่อนเพลีย
ไม่มีแรง และทำให้น้ำหนักลดลง
อย่างต่อเนื่อง

แล้วเราต้องแก้ไข อย่างไร
อ้อมมีแนะนำไว้ รับชมเพิ่มเติม
ได้ที่วีดีโอ ด้านล่างค่ะ

หมวด 2
โปรตีน

โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็น
ในการสร้างและช่อมแชม
ส่วนที่สึกหรอของกล้ามเนื้อต่างๆ
ของร่างกาย

โปรตีนที่รับประทานเข้าไป 
นอกจากนำไปใช้
แล้วยังก่อให้เกิดของเสีย
หรือขยะตามมาด้วย

ซึ่ง ไต จะทำหน้าที่ในการ
ขจัดของเสียที่เกิดขึ้น

ถ้ารับประทานโปรตีน มากเกินไป
ก็จะทำให้ ใต ต้องทำงานหนักมากขึ้น

สำหรับผู้ป่วย โรคไต
ก็จะทำให้ ไต เสื่อมเร็วขึ้น

ในทางกลับกันถ้ารับประทานน้อยเกินไป
ก็จะ เกิดภาวะขาดสารอาหาร
ผู้ป่วย โรคไต เรื้อรัง

ควรได้รับอาหารโปรตีนต่ำ
เพื่อซะลอการเสื่อมของใต

โปรตีน ที่ได้รับควรเป็น โปรตีน
ที่มีคุณภาพสูง ได้แก่ โปรตีนจาก
เนื้อปลา ไข่ขาว เป็นต้น
อย่างน้อย 60%


โดยกำหนดระดับอาหาร
โปรตีนที่ผู้ป่วยควรได้รับต่อวัน ดังนี้

ผู้ป่วย โรคไต เรื้อรัง
ระยะที่ 1-2
ควรได้รับโปรตีน 0.8-1.0 กรัม/

กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน

ผู้ป่วย โรคไต เรื้อรัง
ระยะที่ 3a – 3b
ควรได้รับโปรตีน 0.6-0.8 กรัม/

กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน

ผู้ป่วย โรคไต เรื้อรัง
ระยะที่ 4-5
ควรได้รับโปรตีน 0.6 กรัม/

กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน

ตาราง สัดส่วน โปรตีน โรคไต - hrtexo.com

หมวด 3
ไขมัน (Fat)

ไขมัน เป็นสารอาหาร
ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
ให้พลังงานสูง

ไขมันจากอาหาร
มีทั้งชนิดที่ดี
เช่น ไขมันไม่อิ่มตัว
น้ำมันมะกอก

น้ำมันดอกค่าฝอย
น้ำมันรำข้าว

และ ไขมันไม่ดี
เช่น ไขมันอิ่มตัว

น้ำมันปาล์ม
น้ำมันหมู
กะทิ ไขมันวัว

ถ้ารับประทาน ไขมัน ชนิดไม่ดี
มากเกิน จะทำให้เกิด
โรคหลอดเลือด
และ หัวใจ ตามมาได้

อาหาร ไขมัน สูงที่ควรหลีกเลี่ยง
น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม กะทิ

เนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น
หนังหมู หนังไก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง

ปลาหมึก ปู กุ้ง หอยนางรม เนย ชีส

อ้อมมีตัวอย่างน้ำมันที่แนะนำ
สำหรับ ผู้ป่วย โรคไต ที่ใช้ได้

คือ น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนลา
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันมะกอก
แต่ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

น้ำมัน 1 ช้อนชา 
จะให้พลังงาน 45 Kcal

ใน 1 มื้ออาหาร สามารถ
ใช้นำมันได้ 2-4 ช้อนชาต่อมื้อ

น้ำมัน ที่ โรคไต ควรใช้ - hrtexo.com

แล้วในแต่ละวัน ผู้ป่วย โรคไต
ต้องใช้น้ำมันวันละเท่าไร
อ้อมมี แนะนำไว้ในคลิปวีดีโอ
สามารถ กดรับชมได้เลยค่ะ

หมวด 4
โซเดียม (Sodium)

การควบคุมอาหารเค็ม
เป็นหัวใจสำคัญสำหรับ

ผู้ที่เป็น โรคไต เรื้อรัง (เสื่อม)
ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง
หรือ มีอาการบวมน้ำ ควรจำกัด


ผู้ป่วย กลุ่มนี้ ควรได้รับโชเดียม
ไม่เกิน 2,000 มิลสิกรัมต่อวัน

เทคนิคการควบคุม

อาหารเค็ม ได้แก่
ให้คนทำอาหารลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง
หลีกเสี่ยงการซื้อ

อาหารปรุงสำเร็จรับประทาน
ลดการเติมน้ำปลา ซีอิ๊ว
เกลือ ลงไปในอาหาร

สามารถเพิ่มรสเผ็ด
หรือ เปรี้ยว มาแทน
รสเค็มที่หายไป

ไม่ควรใช้เกลือ ซีอิ๊ว
น้ำปลาสูตรโซเดียมต่ำ
เนื่องจาก มีส่วนประกอบเป็น

เกลือโพแทสเซียม
ซึ่งผู้ป่วย โรคไต ต้อง
ควบคุมค่าโพแทสเซียมด้วยเช่นกัน

ตาราง ปริมาณ โซเดียม ในเครื่องปรุง โรคไต - hrtexo.com

เครื่องปรุง ผู้ป่วย โรคไต สามารถใช้ได้
เพียงแค่จำกัดปริมาณการใช้
ให้ได้ โซเดียมจากเครื่องปรุง
มื้อละ 500 มิลลิกรัม

และในเครื่องปรุงยอดนิยม
มีโซเดียม เท่าไรบ้าง
วันนี้อ้อม มีมาฝาก
รับชมที่วีดีโอ ด้านล่างได้เลยค่ะ

หมวด 5
โปแตสเซียม 

(Potassium)

โพแทสเซียม คือ
แร่ธาตุที่สำคัญ ที่มีผลต่อการทำงาน
ของกล้ามเนื้อ และ หัวใจ

เมื่อมี โรคไต เสื่อม
การขับโพแทสเซียม จะลดน้อยลง

ระดับโพแทสเซียมในเลือด
ควรน้อยกว่า 5 มิลลิกรัมต่อสิตร

ถ้าระดับ โพแทสเซียม
ในเลือดสูงมากเกินไป

อาจทำให้ หัวใจเต้นผิดปกติ
หรือ หยุดเต้นได้

ดังนั้นในผู้ป่วย โรคไต ระยะ 3-5
หรือ
มีระดับ โพแทสเซียม ในเลือดสูง

ควรหลีกเสี่ยงอาหาร
ที่มี โพแทสเซียม สูง
มีมากใน ผัก และ ผลไม้ บางชนิด

อาทิ มะม่วง มะปราง มะเฟือง มะขาม
หวาน กล้วย กล้วยตาก ฝรั่ง
ขนุน ทุเรียน น้อยหน่า ลำโย
ลูกพลับ น้ำผลไม้ ผลไม้แห้ง

ตัวอย่าง ผลไม้ ที่มี โพแทสเซียม ต่ำ

ผลไม้ โพแทสเซียม ต่ำ โรคไต - hrtexo.com.JPG

ตัวอย่าง ผัก ที่มี โพแทสเซียม ต่ำ

ผัก โพแทสเซียม ต่ำ โรคไต - hrtexo.com

ตัวอย่าง ผลไม้ ที่มี โพแทสเซียม สูง.

ผลไม้ โพแทสเซียม สูง โรคไต - hrtexo.com.JPG

ตัวอย่าง ผัก ที่มี โพแทสเซียม สูง

เมื่อผู้ป่วย โรคไต มีค่าโพแทสเซียม
ในเลือดสูง เราต้องดูแลอย่างไร
อ้อมมีเคล็ดลับมาฝาก
รับชมที่คลิปวีดีโอด้านล่างค่ะ

หมวด 6
ฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟต

(phosphate)

ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อ
ความแข็งแรงของกระดูก
ไต ที่ปกติจะ ขับฟอสฟอรัสออกได้

แต่เมื่อเป็น โรคไต
การขับ ฟอสฟอรัส 
จะลดน้อยลง

ทำให้ระดับฟอสฟอรัส
ในเลือดสูงขึ้น

เมื่อ ระดับฟอสฟอรัส
ในเลือด สูงขึ้น
จะทำให้ระดับ
แคลเซียมในเลือดต่ำลง

และแคลเซียม จะถูกดึง
ออกมาจากกระดูก
ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง

นอกจากนั้นฟอสฟอรัส

จะจับกับแคลเซียม ที่อยู่ในเลือด
เกิดเป็นหินปูน อยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ

 
ทำให้เกิด โรคหลอดเลือดและหัวใจ ตามมา

ดังนั้น ผู้ป่วย โรคไต ระยะที่ 3-5
หรือ ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง

ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มี ฟอสฟอรัสสูง
ได้แก่ นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต

เนย เค้ก คุกกี้ ขนมปัง ไอศกรีม
กาแฟผง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่ว

ต่างๆ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง
โอวัลติน ไมโล โกโก้ โคลา เป๊บซี่
กาแฟใส่นม เบียร์ น้ำแร่ เมล็ดทานตะวัน
เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์

ตัวอย่าง อาหาร ที่มี ฟอสฟอรัส สูง

ฟอสฟอรัส ส่วนมากจะอยู่ในอาหาร
หลายรูปแบบ วันนี้อ้อมได้รวบรวม
มาฝาก ซึ่งอาหารที่มี ฟอสฟอรัสสูง
มีอยู่ด้วยกัน 7 กลุ่มใหญ่ๆ 
ตามรายละเอียด ในวีดีโอ ด้านล่างค่ะ

นอกจาก 6 หมวดหมู่ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย
โรคไต อ้อม ยังได้รวบรวเคล็ดลับ
และตอบคำถาม สำหรับ ผู้ป่วย โรคไต
ไว้อีก หลากหลายวีดีโอสามารถ
กดติดตาม ไว้เลยค่ะ

สำหรับท่านที่มองหาตัวช่วย
ในการดูแลไต อ้อมแนะนำทาน 
UMI HRT สารอาหารรูปแบบเจล

ทานง่าย แค่ เด็ด แล้ว ดูด
https://www.hrtexo.com/

สนใจปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ คุณอ้อม สารินี

Open