Friday, 29 Mar 2024

เบาหวานลงไต คืออะไร ?

ในประเทศไทยมีคนป่วยเป็น “โรคเบาหวาน” ประมาณร้อยละ 9.6 ของประชากรผู้ใหญ่ เฉลี่ยอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เป็นโรคเรื้อรัง โดยผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 95 พบเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คือโรคไตจากเบาหวาน ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง จึงทำให้เป็นปัญหากับทางสาธารณสุขของประเทศไทย ที่ก่อให้เกิดอัตราเจ็บป่วยและอัตราเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น

เมื่อพูดถึงโรคเบาหวาน แล้วหลายคนอาจรู้สึกกลัว แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่า เบาหวาน นั่นก็คือ โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ตามมา ซึ่งก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และที่อยู่ในอันดับต้น ๆ คือ “โรคไตจากเบาหวาน” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด “โรคไตวาย” เป็นอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย

รู้หรือไม่ว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเบาหวาน มักมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนของโรคไตวายเรื้อรังร่วมด้วย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบาหวานลงไต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

ดังนั้น เราควรรู้เท่าทันเพื่อป้องกัน ไม่ให้เเกิด โรคไตจากเบาหวาน กับตัวเราเอง หรือคนที่เรารักกันค่ะ

 

 

โรคไตจากเบาหวาน เกิดขึ้นได้อย่างไร 
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและไม่สามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงต่อเนื่องเป็นเวลานานก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ เช่น

ส่งผลต่อหลอดเลือดฝอยที่ไต
เมื่อมีน้ำตาลสะสมในผนังหลอดเลือดมาเป็นระยะเวลานานจนทำให้หลอดเลือดฝอยตีบและอุดตัน ก็จะทำให้ไตมีประสิทธิภาพลดลง การกรองของเสียออกจากร่างกายก็ลดลง จึงพบการรั่วของโปรตีนที่ปนออกมากับปัสสาวะด้วย

ส่งผลต่อทางเดินปัสสาวะ
การคั่งของปัสสาวะเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและลุกลามขึ้นมาตามทางเดินปัสสาวะ จนทำลายเนื้อไตได้ในที่สุด

ระยะการดำเนินสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง ได้แก่

  • ช่วงภาวะไตถูกทำลาย 5 ปี แรก
  • ช่วงภาวะความดันในเลือดสูงและการทำงานของไตลดลง 10-15 ปี
  • ช่วงภาวะไตวายเรื้อรัง 18-23 ปี

ส่งผลต่อเส้นประสาท
เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้เส้นประสาทในร่างกายถูกทำลาย ส่งผลให้การสั่งงานระหว่างสมองและอวัยวะที่ควบคุมมีประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง โดยเฉพาะ “กระเพาะปัสสาวะ” จึงทำให้เมื่อมีน้ำปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ แต่จะไม่รู้สึกปวดปัสสาวะ จึงทำให้ความสามารถในการบีบตัวลดลง เกิดความดันและการคั่งในทางเดินปัสสาวะ จนทำให้ไตถูกทำลายในที่สุด

 

โรคไตจากเบาหวานแบ่งได้เป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 และ 2
อาจไม่มีอาการมาก มีเพียงอาการจากโรคเบาหวานเล็กน้อย เช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ถ้าตรวจดูค่าการทำงานของไต (ครีอะตินีนในเลือด) จะพบว่าค่าไตยังคงปกติ ถ้าตรวจอัตราการกรองของไต ก็จะมีค่าสูงขึ้นกว่าคนปกติร้อยละ 20 – 40 ขนาดของไตอาจจะใหญ่ขึ้น และ ถ้าตรวจปัสสาวะอาจพบน้ำตาลในปัสสาวะ แต่จะไม่พบอัลบูมินในปัสสาวะ หรือถ้าพบก็จะน้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน

ระยะที่ 3
พบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่เป็นต่อเนื่องมานานมากกว่า 5 ปี สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาจพบได้ตั้งแต่เริ่มตรวจเจอว่าเป็นเบาหวาน การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน คือ เมื่อตรวจจะพบอัลบูมินในปัสสาวะ อยู่ในช่วง 30 – 300 มิลลิกรัมต่อวัน ถ้าตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไตพบว่าปกติ แต่ความดันโลหิตจะสูงขึ้น แต่ถ้ามีการดูแลรักษา คุมอาหารที่ดีอาจจะทำให้ไตฟืื้นตัวกลับไปเป็นระยะที่ 2 ได้ แต่ถ้าการดูแลรักษา คุมอาหารไม่ดี จะไตเสื่อมได้อย่างรวดเร็วไปอยู่ระยะที่ 4 สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีโอกาสถึงร้อยละ 50 – 80 ของผู้ป่วยและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 20-40 ของผู้ป่วย

ระยะที่ 4
การตรวจเลือดอาจพบว่าค่าครีอะตินีนสูงกว่าปกติซึ่งบ่งบอกว่าการทำงานของไตลดลง ร้อยละ 70 ของผู้ป่วย และจะมีความดันโลหิตสูง จะพบอัลบูมินในปัสสาวะมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ถ้ามีการดูแลรักษา คุมอาหารที่ดีอัลบูมินในปัสสาวะอาจลดลงหรือหายไปได้ และสามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ ร้อยละ 20-50 ของผู้ป่วย การทำงานของไตจะลดลงอย่างต่อเนื่องจนในระยะเวลา 5 – 10 ปี จนเกิดไตวายได้ ถ้าการดูแลรักษา และคุมอาหารไม่ดี (อัลบูมิน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกาย )

ระยะที่ 5
ระยะนี้การทำงานของไตลดลงจนเป็นไตวาย จะมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร บวมตามร่างกาย และปัสสาวะน้อย

 

การดูแลและป้องกันโรคไตจากเบาหวาน
1. ควรควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี คือมีค่าน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) น้อยกว่าร้อยละ 7 เมื่อผู้ป่วยทำการควบคุมน้ำตาลได้ดีจะช่วยลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะ ลดการเกิดโรคไตจากเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
2. ควรควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม และจำกัดการทานเกลือให้น้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน ในกรณีที่ต้องใช้ยาลดความดันโลหิตควรใช้กลุ่ม ACEI หรือ ARB เป็นอันดับแรก ถ้าควบคุมความดันโลหิตได้ดี จะลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะ ช่วยชะลอการเสื่อมของไต ช่วยลดการเกิดโรคไตจากเบาหวาน  และช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
3. ควรควบคุมไขมันไม่ดีชนิดแอลดีแอล ( LDL ) ให้น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งการควบคุมไขมันไม่ดี (ชนิด LDL) จะช่วยลดช่วยลดอัลบูมินในปัสสาวะ และอาจจะช่วยชะลอการเสื่อมของไต และยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกด้วย
4. ควรจำกัดโปรตีนในอาหาร ซึ่งจะช่วยชะลอการเสื่อมของไต โดยปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม คือ 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งสามารถขอคำปรึกษากับนักกำหนดอาหารหรือแพทย์ในสถานพยาบาลที่ท่านรักษาเพื่อขอคำแนะนำปริมาณโปรตีนตามที่เหมาะสมได้ค่ะ
5. ควรเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะหากยังดื้อสูบต่อไป จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตจากเบาหวาน และ ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
6. ควรระมัดระวังการรับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบกลุ่มเอ็นเสด (NSAID) เพราะ จะทำให้เกิดไตวายหรือการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวานที่มีการทำงานของไตลดลงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยา
7. ถ้ามีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป เช่น ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะลำบาก ถ้าปล่อยไว้นานจะทำให้โรคไตจากเบาหวานแย่ลงเร็วมากขึ้น

 

ความเสี่ยงต่อชีวิต ที่ผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวานไม่ควรทำ
1.ไม่ไปพบแพทย์ตามนัดปล่อยให้การรักษาขาดช่วง ไม่ต่อเนื่อง
2.ไม่ปฏิบัติตัวตามแผนการรักษา เช่น ไม่ควบคุมอาหาร ไม่รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
3.รับประทานยาสมุนไพร ยาหม้อ เพื่อรักษาโรคเบาหวานและหรือโรคไตโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

จากที่กล่าวมาทั้งหมด โรคไตจากเบาหวานเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น และยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง โดยเฉพาะเมื่อเกิดไตวาย และต้องฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 20,000 – 30,000 บาทต่อเดือน ดังนั้นแล้วเราสามารถป้องกันไม่ให้ป่วยได้ เพียงแค่ควบคุมดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลทำให้กลายเป็นโรคโตจากเบาหวาน  ก็จะทำให้เราเป็นเพียงผู้ป่วย เบาหวาน เท่านั้นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิริราช

หากคุณเป็นโรคเบาหวานท่านต้องตระหนักถึงความรุนแรงของโรคแทรกซ้อน และท่านจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีที่จะหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนโดยการคุมโรคเบาหวานอย่างเคร่งครัด

แนวทางการป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานโดยเลือกใช้อาหารเสริมทางเลือกนวัตกรรมใหม่ ในรูปแบบเจล ช่วย บำบัด ฟื้นฟู ดูแล ด้วย UMI

🍏🍎 UMI ดูแล ฟื้นฟูตับอ่อน คุมน้ำตาลช่วยเบาหวาน บำรุงตับ ไต ต้านมะเร็ง

*เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดี    เริ่มต้นจากตัวคุณก่อน*

#UMIฟื้นฟูตับอ่อน
#รักษาสมดุลน้ำตาล
#ช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมHBa1C
#UMIอาหารเสริมเจลเจ้าแรกของโลก

ศึกษาเพิ่มเติม ได้ที่ 👇
https://www.hrtexo.com/testimonial

 3,533 total views,  1 views today

Open